สพป.ขอนแก่น เขต 2 จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปีการศึกษา 2567”

(12 มีนาคม 2568) นายอภิชัย เสนาโยธี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ขอนแก่น เขต 2 (ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 2) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปีการศึกษา 2567” โดยมี นายโอวาท อดทน รอง สพป.ขอนแก่น เขต 2 คณะศึกษานิเทศก์ ผู้เข้ารับการอบรม เป็นครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 208 โรงเรียนเข้าร่วมในพิธีเปิด ณ ห้องประชุมศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิต สพป. ขอนแก่น เขต 2

นายอภิชัย กล่าวว่า เด็กปฐมวัย คือ เด็กอายุ 1-5 ปี เป็นช่วงวัยที่ต้องการเรียนรู้ แสดงความตื่นเต้นต่อสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา เมื่ออายุได้ 2 ปีจะมีการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานการเดินและการพูดมากขึ้น มีการพัฒนาความเข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละคน และเข้าใจความต้องการของบุคคลอื่น การพัฒนาทักษะเหล่านี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ความปรารถนาของบุคคลอื่น และมีความสามารถในการควบคุมการตอบสนองของตนเองมากขึ้น ความสำคัญของเด็กวัยนี้ คือเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการหลาย ๆ ด้านจะผสมกลมกลืนกัน โดยพัฒนาการของเด็กแต่ละด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย พฤติกรรมและพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างการทำงานและความสามารถของร่างกาย การประเมินพัฒนาการทางกายประเมินจาก น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบอก อายุกระดูก โดยพิจารณาเปรียบเทียบตามเกณฑ์ ตามวัย การพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายเป็นปัจจัยด้านชีววิทยา การเตรียมพร้อมให้เด็กช่วยเหลือตนเอง และการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ มีผลต่อประสบการณ์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็ก การพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ กับตนเอง การรู้คิด รู้เหตุผลและความสามารถในการแก้ปัญหา มีการแสดงออกโดยการใช้ภาษาสื่อความหมายและการกระทำ โดยเด็กเรียนรู้โลกภายนอกรอบตัว และพัฒนาความคิดไปตามลำดับขั้นตอน ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา หรือเชาว์ปัญญา  การพัฒนาการด้านอารมณ์ ตั้งแต่แรกเกิด เด็กแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะติดตัวมา ทำให้เด็กมีการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ถึงแม้พื้นฐานอารมณ์จะเป็นปัจจัยพื้นฐานชีวภาพที่มีอิทธิพลแต่เด็ก แต่จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมก็มีอิทธิพลต่อพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กไม่น้อยเช่นกัน  การพัฒนาการด้านสังคม  และการพัฒนาการด้านจิตวิญญาณ 

สพป.ขอนแก่น เขต 2 ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจึงได้ดำเนินการจัดการอบรมครูปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดฯ ขึ้น เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (ชั้นอนุบาลปีที่ 3) ปีการศึกษา 2567 เพื่อกำหนดแนวทางการกรอกข้อมูลสารสนเทศตามมาตรฐานชาติ ระดับปฐมวัย เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดประสบการณ์เชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิด PSWIM ต่อไป อภิชัย กล่าวทิ้งท้าย